อยากเฉาะ อยากแปลงเพศใจจะขาด แต่ใช่ว่าไปพบหมอศัลย์แล้ว
เค้าจะทำให้เลยนะ ไม่ใช่ฝีมือหมอไม่ถึง บอกเลยฝีมือหมอไทยไม่แพ้ชาติใดในโลก แต่คุณหมอต้องชัวร์ก่อนว่าคนไข้สมควรทำจริงๆ
ขืนสุ่มสี่สุ่มห้าทำให้โดยที่ยังไม่พร้อม วันดีคืนดีคนไข้เกิดเปลี่ยนใจขึ้นมา
อยากกลับไปเป็นเพศเดิมนี่ซวยเลยนะ อย่างตัดจู๋ เต้านม หรือมดลูก
นี่คือตัดแล้วตัดเลย เอากลับคืนมาไม่ได้นะคร้าบ ดังนั้นคุณหมอจึงต้องพิจารณาอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าคนไหนทำได้-ทำไม่ได้
โดยจะนำแนวทางในการดูแลคนไข้ที่มีการรับรู้เพศผิดปกติ (Gender Identity Disorder : GID) ที่ทำกันจนเป็นมาตรฐานทั่วโลกมาใช้ ไม่ได้ทำแบบขอไปที
ชีวิตคนทั้งชีวิตจะมามั่วๆ ไม่ได้ค่ะ
ตามแนวทางที่ว่านี้เมื่อคนไข้บอกว่าอยากแปลงเพศคุณหมอศัลย์จะต้องส่งตัวให้ไปคุยกับผู้เชี่ยวชาญคือจิตแพทย์ ก่อน จิตแพทย์จะตรวจสอบว่าคนไข้เคสนั้นๆ
อยู่ในกลุ่มคนที่มีการรับรู้เพศผิดปกติจริงๆ ไม่ใช่กลุ่มคนไข้อื่นๆ ตรงนี้สำคัญต้องแยกให้ได้ก่อน
และถ้าแน่ใจว่าการผ่าตัดแปลงเพศจะเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด ก็จะออกใบรับรองผ่าตัด
(Psychological
Assessement Licence) ให้กับคนไข้
แล้วส่งให้หมอศัลย์ทำผ่าตัดต่อไป ซึ่งตามกฎหมายไทยกำหนดให้ใช้จิตแพทย์ถึง 2 คน ตรงนี้ก็จะเป็นการดับเบิ้ลเช็ค
เอาให้ชัวร์แบบสุดๆ
ทีนี้ลองมาดูกันว่าคนที่มีคุณสมบัติและสภาวะจิตใจที่พร้อมต่อการผ่าตัดแปลงเพศต้องเป็นยังไง
อันนี้เป็นการทดสอบความพร้อมตามมาตรฐานโลก เรียกว่าใครจะทำผ่าตัดแปลงเพศก็ต้องผ่านด่านทดสอบนี้ก่อนค่ะ
เอากรณีแปลงจากชายเป็นหญิงก่อน
เพราะมีคนทำกันเยอะมว๊ากก อย่างที่บอกจะตัดจู๋ทิ้งนั้นเป็นเรื่องใหญ่
แต่ถ้าคุณมีคุณสมบัติเหล่านี้ คุณหมอก็ยินดีเฉือนเจ้าโลกของคุณทิ้ง
- ใช้ชีวิตแบบหญิงติดต่อกันเป็นระยะที่ยาวนานกว่า
1 ปีขึ้นไป
- เคยใช้ชีวิตเป็นหญิงอย่างสมบูรณ์ที่คนรอบข้างยอมรับได้
และมีความสุขโดยไม่มีความกดดันใดๆ
- มีความรู้สึกเป็นหญิงมานานแล้ว
หรืออาจจะเริ่มตั้งแต่จำความได้
- มีความรู้สึกรังเกียจอวัยวะเพศของตัวเอง
และคิดว่าเป็นของส่วนเกิน
- มีความรู้สึกไม่ชอบพฤติกรรมของพวกรักร่วมเพศอย่างสิ้นเชิง
- เคยกินฮอร์โมนเพศหญิงมาก่อน
ไม่ว่าจะเป็นในรูปยากินหรือยาฉีด ข้อนี้นำมาใช้ตัดสินด้วยเพราะปกติผู้ชายที่ไม่มีความตั้งใจจริงจะเป็นผู้หญิง
คงไม่มีใครคิดอุตริกินหรือฉีดฮอร์โมนเพศหญิงหรอกค่ะ
เอาล่ะ มาดูกรณีแปลงจากหญิงเป็นชายกันบ้าง
ถึงเปอร์เซ็นต์ทำจะน้อยกว่าก็เถอะ แต่แนวโน้มก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ
ซึ่งคุณสมบัติของคนไข้จะคล้ายๆ กันเพียงแต่เป็นในทางตรงข้าม คือ
- มีความรู้สึกอยากเป็นชายตั้งแต่จำความได้
-
เคยใช้ชีวิตเป็นชายอย่างสมบูรณ์อย่างมีความสุขและไม่มีความกดดันใดๆ
และได้รับการยอมรับจากคนรอบข้างเป็นอย่างดี
- ได้ใช้ชีวิตแบบชายติดต่อกันเป็นระยะเวลายาวนานกว่า
1 ปีขึ้นไปเต็มเวลา
- ได้รับฮอร์โมนเพศชายมามากกว่า
1 ปี ในเคสที่ต้องการผ่าตัดอวัยวะเพศหญิงออก เช่น ตัดมดลูก, รังไข่
หลังผ่านด่านตรวจสอบสภาพจิตจนมาถึงมือคุณหมอศัลย์แล้ว
แสดงว่าคนไข้พร้อมแล้วที่จะเข้ารับการผ่าตัด
ถึงกระนั้นก็ยังต้องคำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ด้วยจร้า คือคนไข้ต้องมีอายุอย่างน้อย 20
ปีเต็ม อันนี้พิจารณาในแง่กฎหมายหรือจริยธรรม แล้วถ้าอายุน้อยกว่านั้นล่ะ
ก็ยังทำได้ค่ะ แต่ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองยินยอม และอีกเรื่องก็คือสุขภาพร่างกายของคนไข้เองว่าพร้อมที่จะทำมั้ย
ถ้าสุขภาพแข็งแรงดี ก็ทำผ่าตัดได้เลย แต่ถ้ามีอะไรที่เสี่ยงต่อการผ่าตัด
ก็ต้องดูว่าแก้ไขได้มั้ย ถ้าได้คุณหมอก็จะแก้ก่อน เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น