พูดถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ
ก็คือการใส่ข้อเทียมเข้าไปแทนข้อที่มันเสื่อมหรือเกิดปัญหา ที่ได้ยินบ่อยๆ
เห็นจะเป็น “ข้อเข่า” กับ “ข้อสะโพก” ส่วนข้ออื่นๆในร่างกายยังไม่เคยได้ยินใครเขาเปลี่ยนกันนะ
เดี๋ยวนี้คนผ่าตัดเปลี่ยนข้อมีเยอะขึ้นเพราะเทคนิคการทำน่ากลัวน้อยลง
ก็เป็นเรื่องของเทคโนโลยีที่มันล้ำสมัยขึ้นนั่นแหละ ทำให้อะไรๆมันง่ายขึ้น แถมมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการผ่าตัด
(Computer
Assisted Surgery) ด้วย ส่วนตัวข้อเทียมก็มีการออกแบบและพัฒนาให้ใช้งานได้ใกล้เคียงข้อธรรมชาติ ไงล่ะ...ไม่ธรรมดาเลยใช่มั้ย
ถึงการผ่าตัดเปลี่ยนข้อจะลดความยุ่งยากไปเยอะ
แต่ใช่ว่านึกอยากผ่า เดินไปบอกคุณหมอแล้วจะได้ผ่าสมใจล่ะ คุณหมอเค้าจะเซย์เยสก็ต่อเมื่อเห็นแล้วว่ารักษามาสารพัดวิธีแล้วไม่ดีขึ้น
หรือใครมีข้อบ่งชี้เหล่านี้ คุณหมอก็จะผ่าให้
- ข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อมจากอายุ
มีอาการผิดรูปเข่าโก่ง มีอาการปวดจากการเดิน
- ข้อเข่าและข้อสะโพกเสื่อม จากโรคข้ออักเสบ
เช่น Rheumatoid,
SLE
- มีโรคหัวสะโพกขาดเลือดไปเลี้ยง (Avascular necrosis)
- อุบัติเหตุ กระดูกเข่าแตกผิดรูป หรือกระดูกสะโพกหัก
สำหรับวัสดุที่ใช้ทำข้อเข่าและข้อสะโพกเทียมจะเป็นโลหะอัลลอย
(Alloy) มีคุณสมบัติคือ (1) มีความทนทานสูง อันนี้สำคัญเพราะข้อเทียมมันต้องคอยรับน้ำหนักอยู่ตลอดเวลา
ก็ควรจะแข็งแรงไม่สึกกร่อนง่าย และ (2) ไม่มีปฏิกิริยาต่อต้านกับเนื้อเยื่อของร่างกาย
ถ้ามีนี่ยุ่งเลยนะเพราะมันต้องเข้ามาฝังอยู่ในร่างกายของเรา
คนไข้ที่เปลี่ยนข้อเทียม
บางคนใช้งานไม่สมบุกสมบันมาก ก็สามารถใช้งานไปได้นานมากกว่า 20 ปีก็มี แต่ไม่ใช่ทุกคนจะใช้งานกันได้ยาวๆแบบนี้นะ
เพราะคนไข้แต่ละคนสภาพร่างกายไม่เหมือนกัน ระดับกิจกรรมที่ทำหรือปริมาณน้ำหนักที่กระแทกลงข้อก็ต่างกัน
ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดอายุการใช้งานของข้อเทียมค่ะ
ส่วนวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมทำได้
2 แบบคือ แบบเดิม (Standard) ที่ทำกันมานาน กับ แบบใหม่ (Minimally Invasive
Technique) สองแบบนี้ต่างกันยังไงไปดูกันค่ะ
แบบเดิม แบบใหม่
ขนาดแผลผ่าตัด ใหญ่ (ประมาณ 15 ซม.) เล็ก
(ประมาณ 5 ซม.)
เวลาในการผ่าตัด นานกว่า 1 – 1 ½ ชม.
ระยะเวลาดมยา นานกว่า สั้นกว่า
การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้าง มากกว่า น้อยกว่า
ระยะเวลาพักฟื้นใน
รพ. มากกว่า 1-2 สัปดาห์ สั้นกว่า
กลับไปเดินได้ตามปกติ ช้ากว่า เร็วกว่า
ถ้าจำเป็นต้องผ่า
อยากผ่าแบบไหนคงมีคำตอบในใจกันบ้างล่ะนะ แต่ขอฝากเอาไว้นิด การผ่าตัดอะไรซักอย่างมันมีเงื่อนไขหลายอย่าง
จะเอาตามใจคนไข้อย่างเดียวคงไม่ได้ ต้องพิจารณาหลายๆด้าน ทั้งตัวคนไข้เอง ไหนจะคุณหมออีกล่ะ
คนไข้อยากได้อย่างนี้แต่คุณหมอคิดว่าอีกทางเหมาะสมกว่า ก็ต้องฟังคุณหมอด้วย
ปกติหลังเปลี่ยนข้อเทียม
คนไข้ก็ต้องมาฝึกหัดเดินกันใหม่ ก็ต้องนิดนึงล่ะ เปลี่ยนข้อเทียมนี่นะ
ไม่ได้ผ่าฝีจะได้ลุกมาเดินปรู๊ดปร๊าดได้เลย ก็จะมีคุณหมอแผนกกายภาพมาฝึกให้
และจะสอนฝึกออกกำลังกล้ามเนื้อให้ด้วย ฝึกกันตั้งแต่ช่วงพักฟื้นในโรงพยาบาลนั่นแหละ
พอกลับบ้านก็เอาไปทำต่อเอง
ถ้าขยันทำตามหมอบอกก็จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้นค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น