อยากมีลูกเป็นโซ่ทองคล้องใจ
แต่ไม่วายกังวลว่าตอนคลอดลูกจะครบสามสิบสองมั้ย? ถ้าครบก็โล่งอก หลังจากนั้นก็ต้องมาลุ้นอีกว่าโตขึ้นจะปกติหรือเปล่า?
หากไม่ปกติอย่างเช่นสังเกตว่าพัฒนาการของลูกเรามันทะแม่งๆ รีบแจ้นพาลูกไปหาหมอ แล้วหมอฟันธงเปรี้ยงว่าลูกเราเป็นออทิสติก
โอ๊ย คนเป็นพ่อเป็นแม่แทบจะล้มทั้งยืนกันเลยทีเดียว
ออทิสติกเป็นความบกพร่องของพัฒนาการรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ
ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ทราบต้นสายปลายเหตุของโรคชัดเจน หากเทียบกับสมัยก่อนเดี๋ยวนี้เราได้ยินคำว่า
“ออทิสติก” กันบ่อยขึ้น ซึ่งถ้าดูจากสถิติก็ไม่น่าแปลกใจ เพราะปัจจุบันพบว่า
ในเด็กทุก 1,000
คน จะพบว่าเป็นออทิสติกถึง 6 คน
หรือในเด็กปกติ 150 คน
จะพบ 1 คนที่เป็นออทิสติก
และเชื่อว่าจริงๆ แล้วน่าจะมีเยอะกว่านี้ เพราะไม่ใช่พ่อแม่ทุกคนที่พบว่าลูกมีความผิดปกติแล้วจะพาลูกมาตรวจ
เมื่อลูกน้อยเป็นออทิสติกแล้วยังไงต่อ
พ่อแม่บางคนยังงงๆ ไปไม่ถูก บอกเลยว่าสุภาษิต
“ช้าๆ ได้พร้าเล่มงาม” อย่างัดมาใช้เด็ดขาด การรักษาเด็กออทิสติกถ้าเริ่มตั้งแต่ช่วงอายุ
2-3 ขวบ จะรักษาอาการของโรคได้ผลดีกว่าปล่อยจนเด็กอายุมากขึ้น แล้วเลิกคิดไปเลยค่ะว่าโตแล้วเดี๋ยวก็หายเอง อันนี้ไม่จริงเลย
ดังนั้นถ้าลูกพัฒนาการแปลกๆ รีบพาไปหาหมอ จะได้วินิจฉัยโรคได้เร็วว่าเป็นหรือไม่เป็นหรือเป็นอย่างอื่น
ถ้าเป็นก็จะได้เริ่มรักษากันตั้งแต่อายุน้อย ๆ สำคัญต้องรักษาอย่างต่อเนื่องด้วย ซึ่งความก้าวหน้าในการดูแลรักษาคนไข้ออทิสติกที่พัฒนาขึ้นมากในปัจจุบัน
ทำให้คนไข้มีอาการดีขึ้นได้ สามารถเรียนรู้ ปรับตัว ประกอบอาชีพ ใช้ชีวิตอยู่ร่วมในสังคม
โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุดได้
ในการรักษาเด็กออทิสติก
จะไม่ใช้แค่วิธีหนึ่งวิธีใดอย่างเดียว ถ้าจะให้ได้ผลดีต้องบูรณาการหลายวิธีเข้าด้วยกัน
ตั้งแต่รักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน, การฝึกพูด, ฝึกพัฒนาการ, กายภาพบำบัด,
การใช้ออกซิเจนภายใต้ความกดบรรยากาศสูง หรือ HBO, การใช้วิตามินบี 12, การขับสารพิษ เป็นต้น
ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวิธีการรักษาที่ช่วยให้แนวโน้มพัฒนาการของเด็กดีขึ้นได้
ความร่วมมือร่วมใจของคนในครอบครัวก็ถือว่าสำคัญมาก
อย่าผลักภาระไปให้หมอหรือผู้เชี่ยวชาญอย่างเดียว โดยคนในครอบครัวต้องเข้าใจโรคที่เด็กเป็น
มีเวลาให้ พร้อมที่จะนำวิธีการรักษาและคำแนะนำของหมอมาประยุกต์ใช้ที่บ้าน
แล้วก็ต้องทำอย่างต่อเนื่องด้วย ถึงจะเหนื่อยแต่ถ้าเห็นพัฒนาการของลูกดีขึ้นก็คุ้มค่ะ
ทีนี้จะขอพูดเฉพาะการรักษาเด็กออทิสติกด้วย
HBO ซึ่งทำกันมานานกว่า 10 ปีแล้วในต่างประเทศ ส่วนในประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นนำมาใช้รักษาเมื่อประมาณ
3 ปีนี้เอง
อย่างที่ได้บอกไปในตอนต้นว่าโรคออทิสติกนั้นยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด
แต่จากการศึกษามีหลักฐานสนับสนุนว่าโรคนี้น่าจะเกิดจากการทำงานของสมองผิดปกติมากกว่าเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อม
จากการทำ SPECT Scan หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดพิเศษของสมอง (MRI) ในผู้ป่วยออทิสติกบางรายพบว่า
มีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยกว่าปกติ ซึ่งพบได้ในสมองทั้งสองข้าง
การที่มีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง ปริมาณออกซิเจนที่มาเลี้ยงสมองย่อมน้อยลงไปด้วย
ดังนั้นถ้าสามารถเพิ่มออกซิเจนให้แก่ส่วนของสมองที่มีเลือดมาเลี้ยงน้อยลงนี้ได้
ก็ย่อมส่งผลดีแน่นอน ด้วยหลักการง่ายๆ ดังกล่าวจึงได้มีการนำ HBO มาช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับสมองโดยการให้เด็กออทิสติกหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์
100% ภายใต้ความดันสูงเข้าไป เมื่อสมองได้รับออกซิเจนในปริมาณที่สูงขึ้น ก็จะช่วยซ่อมแซมหรือกระตุ้นเซลล์สมองในส่วนที่ไม่ทำงานให้เริ่มทำงานมากขึ้น
ส่งผลถึงการรับรู้, การเคลื่อนไหว และการเรียนรู้ได้ และหากทำควบคู่ไปกับการรักษาอื่นๆ
ก็จะทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดียิ่งขึ้น
เครื่อง HBO |
การรักษาเด็กออทิสติกด้วย HBO เด็กจะต้องเข้าไปอยู่ในห้องปรับบรรยากาศครั้งละ
1 ชั่วโมง ประมาณ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ก่อนเข้าเครื่องคุณหมอจะประเมินเด็กก่อนว่าเข้าได้มั้ย
เช่น ไม่เป็นไข้ ไม่เป็นหวัด และประเมิน BQ Test (Behavior Quotient Test) ในครั้งแรก และทำ BQ Test หลังการรักษาทุก 40 ครั้ง เพื่อวัดผลการรักษา
การที่เด็กต้องเข้าไปอยู่ในห้องปรับบรรยากาศ ก็ต้องมีพ่อ แม่ พี่เลี้ยง
หรือใครก็ตามที่เด็กคุ้นเคยเข้าไปด้วย โดยทั่วไปเด็กออทิสติกจะกลัวสิ่งแปลกใหม่ เขาจะอยู่กับโลกหรือบุคคลที่เขาคุ้นเคยเท่านั้น
จะว่าไปก็ไม่ใช่แต่เด็กออทิสติกหรอกค่ะ ต่อให้เป็นเด็กปกติก็คงไม่เอา
เมื่อเข้าไปอยู่ในเครื่องแล้วในครั้งแรกเด็กอาจจะขัดขืนไม่ยอมสวมหมวกออกซิเจน ก็ไม่เป็นไร
คุณหมอจะไม่ฝืนใจ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะปรับความดันในห้องปรับบรรยากาศ ให้เล่นของเล่น
มีลูกอมให้ทาน เพื่อให้เด็กคุ้นเคยกับบรรยากาศในเครื่อง ทำอย่างนี้สัก 2 -3 ครั้ง เด็กก็จะเริ่มวางใจว่าไม่มีอันตราย
จากนั้นถึงจะให้เด็กสวมหมวกแล้วให้ออกซิเจนบริสุทธิ์ 100%
คุณพ่อคุณแม่ที่เข้าไปอยู่ในห้องปรับบรรยากาศกับเด็ก
ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพ สำหรับตัวเด็กเองน่ะได้ประโยชน์เต็มๆ จากออกซิเจนบริสุทธิ์
100% ผ่านทางหมวกที่สวมอยู่แล้วล่ะ ส่วนคุณพ่อคุณแม่ก็ได้รับออกซิเจนเพิ่มขึ้นด้วยถึงจะไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าเด็ก
เนื่องจากในเครื่องมีการปรับความดันเพิ่มขึ้นจึงช่วยผลักออกซิเจนเข้าสู่ร่างกาย คุณหมอเล่าว่าเคยมีคุณแม่บางท่านบ่นว่าเหนื่อยบ่อย
ๆ พอเข้าไปกับลูกบ่อย ๆ บอกอาการเหนื่อยดีขึ้น บางคนที่ปวดศีรษะบ่อย เข้าไปอาการปวดก็ดีขึ้น
นับเป็นผลพลอยได้ที่เชื่อว่าหลายคนต้องคาดไม่ถึงเชียวล่ะ!
ขอบคุณข้อมูล
& ภาพประกอบ : รพ.ยันฮี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น