วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คำถามนี้ - มีคำตอบ...คีเลชั่น

        เคยหยิบเรื่องคีเลชั่นมาฝากไปแล้ว ใครสนใจก็ย้อนไปหาอ่านกันได้นะคะ แต่ก็มีบางเรื่องที่ยังไม่ได้พูดถึงหรือพูดข้ามไป ทำให้หลายๆ คนยังกังขาเกี่ยวกับคีเลชั่น เกริ่นมายังงี้หากสะกิดต่อมอยากรู้ของคุณแล้วล่ะก็ ข้อคำถามปังๆ เหล่านี้จะทำให้คุณเข้าใจคีเลชั่นมากขึ้นด้วยคำตอบที่ สั้น กระชับ ตรงประเด็นสุดๆ  



ทำไมเราควรทำคีเลชั่น?
        ตอบแบบไม่อวย ก็คงต้องบอกว่า ยอมรับความจริงเถอะว่า โลกทุกวันนี้มันไม่เหมือนเดิมแล้ว สภาวะปัจจุบันทั้งสภาพแวดล้อม อาหาร และเครื่องดื่ม มักปะปนไปด้วยสารเคมีและโลหะหนัก ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนเรา การทำคีเลชั่นจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการกำจัดโลหะหนักและสารเคมีเหล่านี้ออกจากร่างกาย ซึ่งส่งผลให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้น

คนกลุ่มไหนที่สามารถทำคีเลชั่นได้?
        คนที่อยากทำคีเลชั่นมักจะมีคำถามนี้อยู่ในใจเสมอ เอ้า! มาดูกันว่าคุณเหมาะจะทำหรือไม่


กลุ่มนี้...ใช่เลย
        -  คนที่ต้องการดูแลสุขภาพ
        -  คนที่มีความเสี่ยงได้รับโลหะหนักหรือสารเคมีเป็นประจำ
        -  คนที่รู้สึกร่างกายอ่อนเพลียลง ไม่สดชื่น
อายุไม่ใช่อุปสรรค ไม่มีข้อกำหนดเรื่องอายุ แต่ถ้าอยากทำจริงๆ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนทำ ซึ่งคุณหมอจะให้ข้อมูลในการรักษาสำหรับแต่ละคน โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของคนไข้
กรณีนี้...ห้ามเด็ดขาด
ผู้ป่วยภาวะไตวาย เนื่องจากร่างกายจะขับสารโลหะหนักผ่านทางไต ไตจึงทำงานเพิ่มขึ้น

ถ้าอยากทำคีเลชั่นต้องเตรียมตัวยังไงมั่ง?
        

        ถ้าคุณอยากทำคีเลชั่นก็หาข้อมูลว่ามีสถานพยาบาลไหนมั่งที่ทำ พอใจที่ไหนก็เข้าไปปรึกษาได้เลย น้ำหรืออาหารไม่ต้องงด เดี๋ยวจะเป็นลมไปซะก่อน ก่อนทำคุณหมอจะทำการตรวจที่เรียกว่า Live Blood Analysis ซึ่งเป็นการตรวจเบื้องต้นในการดูภาวะเม็ดเลือด และการปะปนของโลหะหนักในเลือด โดยการเจาะเลือดปลายนิ้ว 1 หยด แล้วนำมาส่องผ่านกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูง แล้วส่งภาพผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์


ตัวยาที่ใช้ในการทำคีเลชั่นมีอะไรบ้าง?
        ตัวยาหลักคือ โปรตีนอะมิโนชนิดหนึ่งที่มีฤทธิ์ในการขับสารโลหะหนักออกจากร่างกาย ส่วนอื่นจะเป็นวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระอีกหลายชนิด ช่วยฟื้นฟูสุขภาพและผิวพรรณให้ดีขึ้น

หลังทำจะมีอาการผิดปกติอะไรบ้างหรือเปล่า?
หลังทำโดยปกติทั่วไปจะไม่มีอาการใดๆ ยกเว้นบางท่านอาจมีอาการเพลีย คลื่นไส้ หรืออื่นๆ บ้างเล็กน้อย จึงไม่ต้องกังวลใจไปค่ะ

การทำคีเลชั่นจะทำซ้ำมากน้อยแค่ไหน ดูจากอะไร?
        คุณหมอจะพิจารณาจากสภาพร่างกาย และปัจจัยเสี่ยงของแต่ละท่าน โดยปกติจะทำประมาณ 10 – 20 ครั้ง

การทำแต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างเพียงใด?
        ประมาณ 1 สัปดาห์ เพราะต้องมีการควบคุมปริมาณยาให้เหมาะสม

หากทำบ่อยๆ จะส่งผลเสียต่อร่างกายหรือไม่?
         ผลเสียต่อร่างกายไม่พบ ยกเว้นในผู้มีภาวะไตวาย ที่ถือเป็นข้อห้ามในการทำ 



ไม่มีความคิดเห็น: