วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

รู้ยัง...สารพิษอยู่รายล้อมตัวเรา

ทุกวันนี้ชีวิตเราเหมือนจะดี๊ดี สะดวกสบายไปทุกสิ่งอย่าง โลกถูกย่อถึงกันได้รวดเร็วเพียงชั่วนิ้วคลิก

แต่คุณภาพชีวิตของพวกเราเหมือนจะสวนทาง คนเราสมัยนี้กำลังอยู่แบบตายผ่อนส่งกันหรือเปล่า? ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ สิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวันพร้อมพ่นพิษใส่เราตลอดเวลา ทุกๆ วันร่างกายของเรามีโอกาสรับสารพิษ อากาศมีสารโลหะหนัก ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์จากท่อไอเสียเครื่องยนต์, อาหารมีสารฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต สารปรุงแต่ง, เครื่องนุ่งห่ม และอุปกรณ์ต่าง ๆ มีสี สารระเหย ฯลฯ

         สารโลหะหนัก เช่น ปรอท ตะกั่ว สารหนู ที่ได้ยินคำเตือนถึงพิษภัยบ่อยๆ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว  อย่างสารปรอทเป็นส่วนผสมของวัสดุอุดฟันพวกอมัลกัม ตะกั่วเป็นสารโลหะหนักที่อาจพบได้จากหม้อก๋วยเตี๋ยวรุ่นเก่าๆ ซึ่งเราส่วนใหญ่ไม่เคยตระหนักถึงอันตราย หรือสารหนูอาจพบได้ในข้าว ธัญพืช ผัก ผลไม้ อาหารทะเล เครื่องสำอาง ยาแผนโบราณ ฯลฯ พวกผักผลไม้ที่เรากินเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงนั้น รู้มั้ยว่าสารเร่ง หรือปุ๋ยมีโลหะหนักเจือปนอยู่ คนปลูกอาจพ่นยาฆ่าแมลงก่อนเก็บมาขายโดนไม่ทิ้งระยะเวลาให้ยาสลายตัว ก็เลยไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันมีประโยชน์ต่อสุขภาพหรือทำให้เรายิ่งตายผ่อนส่งเร็วขึ้น อาหารทะเลหรือน้ำดื่มปนเปื้อนสารโลหะหนักก็ออกข่าวให้พวกเราตระหนกกันเป็นระยะ นี่แค่ตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ ให้เห็นว่าสารโลหะหนักเป็นปัญหาใกล้ตัวของเราเพียงใด

เมื่อสารโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย  โดยกลไกธรรมชาติร่างกายก็จะกำจัดออกไป เรียกว่าถ้าปริมาณไม่มากร่างกายยังรับมือไหวอยู่ แต่ทีนี้มันรับทุกวันไง ปริมาณมันเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ประสิทธิภาพในการขจัดย่อมลดลง สารโลหะหนักก็เลยเหลือตกค้างอยู่ในร่างกาย และไปเกาะสะสมตามผนังหลอดเลือด หรือตกค้างในเลือด ทำให้เกิดปัญหาผนังหลอดเลือดอักเสบ ขรุขระ เส้นเลือดแข็งหรือตีบแคบ อุดตัน ส่งผลให้ระบบการไหลเวียน การลำเลียงไม่ดี ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือด และโรคความเสื่อมตามอวัยวะต่าง ๆ

คำถามคือแล้วจะทำยังไง ดีสุดคือหลีกเลี่ยงการรับสารโลหะหนักเข้าสู่ร่างกาย แต่เราก็รู้ว่านั่นเป็นเรื่องยาก งั้นก็ต้องหาทางกำจัดสารโลหะหนักออกไป  
            
         เราเคยได้ยินคำว่า การล้างพิษ กันบ่อยมาก คำว่าล้างลำไส้ หรือ ดีท็อกซ์ ไม่ต้องพูดถึง แทบจะเป็นคัมภีร์ของคนรักษ์สุขภาพ การกำจัดสารโลหะหนักก็ต้องอาศัยการล้างเช่นกัน แต่เป็นการล้างหรือฟื้นฟูหลอดเลือด ที่เรียกว่าการทำ คีเลชั่น” (Chelation) เอ๊ะ...อะไร?  ยังไง? ตอนนี้ยังไม่เฉลยว่าเทคนิคนี้เป็นอย่างไร ถ้าอยากรู้ต้องติดตามค่ะ

ไม่มีความคิดเห็น: